พื้นที่เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างแรงบันดาลใจที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม และกระตุ้นประสิทธิภาพในการทำงาน แต่พื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดมีลักษณะอย่างไร ในศาสตร์แห่งพื้นที่ ( English ) เราจะสำรวจว่าศาสตร์แห่งการออกแบบอย่างมีจุดมุ่งหมายจะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นประสบการณ์แบบองค์รวมได้อย่างไร
เราทุกคนต่างสัมผัสได้เมื่อเดินเข้าไปในพื้นที่ทำงานที่มีบรรยากาศแบบที่ใช่ คุณจะรู้สึกสดชื่นและทุกอย่างดูเป็นบวกไปหมด คนรอบตัวคุณต่างก็มีปฏิสัมพันธ์กันและมีท่าทีผ่อนคลาย บางทีอาจจะเปิดเพลงคลอด้วยซ้ำ หรืออาจมีกลิ่นกาแฟที่เพิ่งชงเสร็จโชยอ่อน ๆ ในอากาศ เป็นบรรยากาศโดยรวมทั่วไปแบบที่คุณอธิบายไม่ถูก
คงจะดีไม่น้อยถ้าเราเข้าใจวิธีสร้างสรรค์พื้นที่ทำงานที่จะทำให้ทีมของคุณรู้สึกมีพลัง มีส่วนร่วม และกระตือรือร้นอยู่เสมอ นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของทฤษฎี ที่ WeWork เราใช้แนวทางที่อิงการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดพลังงานที่ดีที่สุดในที่ทำงาน ช่วยให้พนักงานของคุณรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และพร้อมสร้างสรรค์ผลงาน อ่านต่อเพื่อดูวิธีการของเรา
ผลกระทบที่พลังงานในที่ทำงานมีต่อธุรกิจอย่างน่าประหลาดใจ
ก่อนที่เราจะพูดถึงรายละเอียดเฉพาะเจาะจง มาดูกันก่อนว่าเหตุใดทุกบริษัทจึงจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของพลังงานในพื้นที่ทำงาน พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำไมบริษัทของคุณถึงต้องให้ความสนใจกับบรรยากาศในที่ทำงานด้วย และการทุ่มเทเวลาและทรัพยากรในการหาคำตอบเรื่องนี้จะให้ผลคุ้มค่าหรือไม่
เราขอตอบได้อย่างมั่นใจว่า "คุ้มค่าแน่นอน" ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ
อย่างแรก นึกถึงลูกค้าและผู้มีโอกาสเป็นพนักงานที่อาจเข้ามาเยี่ยมชมบริษัทของคุณ พวกเขาเดินเข้ามาเจอกับสภาพแวดล้อมแบบไหน คุณรับประกันได้หรือไม่ว่าสภาพแวดล้อมนี้จะปล่อยพลังงานแบบที่คุณต้องการทุกครั้ง หรือบางวันคุณอาจต้องอาศัยโชคช่วย
หลาย ๆ บริษัทมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พนักงานไม่จำเป็นต้องอยู่กับที่ (หรืออย่างน้อยก็มีทางเลือกให้ทำงานจากที่บ้านบ้างบางวัน) ซึ่งก็ส่งผลดีต่อพนักงานเป็นอย่างมาก แต่นั่นทำให้สำนักงานของคุณกลายเป็นเมืองร้างไปแล้วหรือเปล่า ความจริงก็คือ ถ้าพนักงานของคุณทำงานจากที่ไหนก็ได้ คุณจะต้องสร้างสิ่งที่ทำให้พวกเขาอยากมาที่พื้นที่ทำงานของคุณ
สุดท้าย นึกถึงผลกระทบที่พื้นที่ของคุณมีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน ในบริษัทระดับองค์กรส่วนใหญ่ สุดท้ายแล้วจะมีคนเพียงคนเดียวที่ทำหน้าที่ตัดสินใจด้านอสังหาริมทรัพย์ให้กับคนหลายพันคน มืออาชีพด้านอสังหาริมทรัพย์มีความสามารถพอ ๆ กับนักมานุษยวิทยาที่จะดู รับฟัง และสังเกตว่าการตัดสินใจด้านพื้นที่ของตนส่งผลกระทบต่อชีวิตของพนักงานทุกคนอย่างไร ถ้าคุณเห็นคนไม่มีความสุขในพื้นที่ของตน นั่นมักจะหมายความว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่ได้รับฟังความต้องการของพนักงาน ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้
ที่ WeWork เรามีความสามารถที่จะสำรวจพลังงานในที่ทำงานในแบบที่บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมทำไม่ได้ และก็โชคดีที่เราเองก็มีไอเดียที่จะแชร์กับคุณ
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้พลังงาน: ระยะห่าง ความโปร่งใส และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
โดยธรรมชาติแล้วคนเราจะถูกดึงดูดเข้าหาความสมดุลระหว่างความสงบกับความกระตือรือร้น จึงอาจดูเหมือนว่าความสมดุลทางพลังงานที่เหมาะสมนั้น "เกิดขึ้นเอง" แต่เรื่องนี้มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์รองรับมากกว่าที่คุณคิด อันที่จริงแล้ว งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าปัจจัยสามประการที่ก่อให้เกิดพลังงานประกอบด้วยระยะห่าง ความโปร่งใส และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ทฤษฎีขั้นบันได
เมื่อพูดถึงความใกล้ชิด เราจะถามคำถามอย่าง มีคนกี่คนอยู่ในพื้นที่นั้น คนเหล่านี้เป็นใคร พวกเขาทำอะไรบ้าง และพื้นที่นี้มีการจัดวางอย่างไร
เมื่อเราคิดในเรื่องพลังงาน เราจะเจาะลึกลงไปในทฤษฎีสองสามอย่างที่เป็นที่ยึดถือในด้านสังคมศาสตร์และในงานวิจัยของเราเอง Thomas Allen ซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบัน MIT Sloan School of Management และมีผลงานการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับพื้นที่ทำงานซึ่งบุกเบิกทฤษฎีที่ชื่อว่า "Allen Curve" ซึ่งคำนวณระยะห่างระหว่างพนักงาน (ซึ่งในการศึกษาของเขา พนักงานเหล่านี้คือวิศวกร)
Allen Curve เผยให้เห็นว่าระยะห่างระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันที่ชัดเจนกับความถี่ในการสื่อสารกัน ความถี่เฉลี่ยของปฏิสัมพันธ์จะลดลงถึงครึ่งหนึ่งเมื่อระยะห่างเพิ่มจาก 5 เมตรเป็น 15 เมตร และลดลงอีกครึ่งเมื่อระยะห่างเพิ่มจาก 15 เมตรเป็น 50 เมตร ถ้าห่างกันเกิน 50 เมตร คุณก็แทบจะอยู่คนละตึกกันแล้ว
ทฤษฎีนี้แสดงให้เห็นว่าแค่มีคนอยู่รอบข้าง เราก็รู้สึกมีพลังขึ้นมาแล้ว เพื่อขยายผลจากแนวคิดนี้ ทีมวิจัยของ WeWork จึงเริ่มสำรวจว่าระยะห่างภายในอาคารของเราส่งผลกระทบต่อพลังงานในที่ทำงานอย่างไร
เราพบว่าสมาชิก WeWork มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกว่ากับผู้ที่อยู่ใกล้ กล่าวคือ ระยะห่างระหว่างบุคคลมีอิทธิพลต่อแนวโน้มที่คนเราจะเป็นเพื่อนกัน ซึ่งยิ่งยืนยันทฤษฎี Allen Curve
เราได้ศึกษาผลกระทบของขั้นบันไดภายในอาคารแบบเปิดโล่ง และลงทุนเพิ่มเติมในการออกแบบบันไดโดยเฉพาะ เหตุผลของเราก็คือ ความใกล้ของคนเราจะเพิ่มแนวโน้มที่จะเกิดมิตรภาพ และขั้นบันไดแบบเปิดโล่งก็เช่นกัน
การเพิ่มความโปร่งใส
เรามาลองนำความคิดเบื้องหลังทฤษฎีขั้นบันไดไปขยายผลกับแนวคิดโดยรวมในเรื่องของความโปร่งใสเพื่อปรับปรุงสมดุลพลังงานกัน ความโปร่งใสนี้ก็คือความสามารถที่จะเห็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวจากที่ที่คุณอยู่
ตัวอย่างเช่น สำนักงานใหญ่ของ WeWork ในนิวยอร์กมีโซนผู้บริหารติดกับห้องเก็บอาหารและเลานจ์ส่วนกลางของอาคาร กระจกใสที่เป็นฉากกั้นทำให้พนักงานและผู้บริหารระดับสูงของ WeWork มองเห็นกันและกัน นี่เป็นจุดมุ่งหมายของเรา มีหลักฐานที่แสดงว่าผู้นำที่พนักงานมองเห็นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาบ่อยกว่า ซึ่งเป็นการช่วยลดระยะห่างทางความรู้สึก
นอกจากนี้ผนังกระจก (แบบที่เราใช้ที่ WeWork) ยังตอกย้ำถึงแนวคิด "คนแปลกหน้าที่คุ้นเคย" ของนักจิตวิทยาสังคม Stanley Milgram กระจกนี้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความรู้สึกเป็นชุมชนและเกิดความไว้ใจในสถานที่ทำงาน โดย Milgram บอกว่า "คนที่เจอหน้ากันบ่อย ๆ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรงอาจมีความรู้สึกเชื่อมโยงถึงกันอย่างแน่นแฟ้นเมื่อเวลาผ่านไป"
ระยะห่างแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม
WeWork ทำธุรกิจไปทั่วโลก แต่ไม่ว่าสำนักงานของเราจะตั้งอยู่ที่ไหน เป้าหมายของเรายังคงเป็นการสร้างสภาวะที่ก่อให้เกิดพลังงานที่เหมาะสมที่สุด ด้วยเหตุนี้ทีมของเราจึงพิจารณาความหลากหลายทางวัฒนธรรมและบทบาทต่าง ๆ ของระยะทาง หรือที่เรียกว่าระยะห่างทางวัฒนธรรม ในการออกแบบนั้นเราจะพิจารณาถึงระยะห่างของเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน และพิจารณาว่าระยะห่างนี้จะแตกต่างกันไปอย่างไรตามวัฒนธรรมและประเทศนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น เราสังเกตว่าการประชุมในประเทศจีนมักจะมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากและจัดในห้องขนาดใหญ่ แต่การประชุมในบราซิลมักจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้นัดล่วงหน้าและมีคนเข้าร่วมมากอย่างไม่คาดคิด และมักจะจัดในห้องขนาดเล็กหรือในบรรยากาศไม่เป็นทางการ สำหรับการรับประทานอาหารกลางวัน เราสังเกตว่าสมาชิกในเม็กซิโกและบราซิลมักจะร่วมรับประทานอาหารด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ในอาร์เจนตินาและเนเธอร์แลนด์ สมาชิกมักจะรวมตัวในกลุ่มเล็ก ๆ หรือรับประทานคนเดียว
เรายังทำความเข้าใจอีกว่าการออกแบบพื้นที่ทำงานของเราจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมนั้น ๆ ได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนพลังงานโดยรวมในพื้นที่นั้นให้เกิดสมดุล
พลังงานกับพื้นที่ทำงานของคุณ: เมื่อนำทุกอย่างมารวมกัน
เมื่อคุณรู้สึกว่าพลังงานไม่สมดุล คุณสามารถใช้กลไกหรือสภาวะบางอย่างเพื่อปรับสมดุลให้กับพลังงานนั้น เราเรียนรู้มาว่านี่อาจไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพียงอย่างเดียว โดยอาจเป็นส่วนผสมของสภาวะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ภาษาที่ใช้เมื่อคุณแจ้งความประสงค์ด้านการออกแบบ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม หรือความโปร่งใส ซึ่งคุณอาจลองตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง เมื่อนึกถึงพื้นที่ทำงานของคุณเอง ลองถามคำถามต่อไปนี้กับตัวเอง
- คุณได้สร้างความยืดหยุ่นระหว่างพื้นที่ทำงานกับพนักงานของคุณหรือไม่
สภาพแวดล้อมการทำงานควรปรับไปตามเรา ผู้คนเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอย่างคล่องตัวที่สุดในอาคาร ดังนั้นอาคารควรมีความสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ถามตัวเองว่า: พนักงานของคุณสามารถจัดพื้นที่ (ย้ายเก้าอี้ โต๊ะ ฯลฯ) ให้เหมาะกับความต้องการของตัวเองได้หรือไม่ - สำนักงานของคุณมีตัวเลือกให้หรือไม่
พื้นที่จะต้องมีทางเลือกให้พนักงานเลือกให้เหมาะกับความต้องการของตัวเอง ที่ทำงานควรพร้อมสำหรับการมอบทางเลือก ปรับเปลี่ยน และตอบสนองต่อทุก ๆ สถานการณ์
ถามตัวเองว่า: คุณกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์สูงสุดและสร้างการออกแบบที่ทำให้พนักงานมีพื้นที่สงบหลังจากได้รับพลังงานสูง (เพื่อฟื้นฟูและเติมพลัง) และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ใช้พลังงานสูง (เพื่อทำงานร่วมกันและอภิปรายงาน) หรือไม่
เมื่อคุณมองว่าพลังงานเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากสภาวะเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณก็จะเห็นว่าคุณสามารถควบคุมสภาวะเหล่านั้นได้ด้วย ถึงเวลาแล้วที่คุณจะเปลี่ยนบรรยากาศที่อธิบายไม่ได้นั้นมาเป็นแผนการที่จับต้องและทำได้จริง แผนการที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับทุกคนในสถานที่ทำงานร่วมกัน
ขอขอบคุณพิเศษสำหรับ Daniel Davis, Annie Cosgrove, Gillian Lau, Rachel Montana และ Carlo Bailey ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษามากมายของ WeWork ที่นำมาพูดถึงในบทความนี้
WeWork ให้บริการโซลูชันด้านพื้นที่ทุกขนาดกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของพวกเขา ดูทางเลือกพื้นที่ทำงาน หรือติดต่อเราวันนี้