พนักงานต้องการอะไรจากงาน

แบบสำรวจชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่าสำหรับคนทำงานจำนวนมาก งานเป็นอะไรมากกว่าแค่เงินเดือน

หลาย ๆ ด้านของงานอาจดูไม่น่าพิสมัยนัก ไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่ไม่จำเป็น ( English ) เจ้านายที่ไม่มีเหตุผล ( English ) หรือเพื่อนร่วมงานที่เป็นศัตรูตัวฉกาจ ( English ) แต่ก็ยังมีด้านอื่น ๆ ที่อาจทำให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจได้ เช่น ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ ( English ) หรือการได้ทำงานกับเพื่อน 

โจทย์สำคัญของธุรกิจที่พยายามจะทำให้พนักงานฝีมือดีรู้สึกพอใจและทำงานได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือจะทำอย่างไรจึงจะจำกัดด้านที่ไม่น่าพอใจของการทำงานและนำเสนอด้านดี ๆ และด้วยงานศึกษาวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่บ่งชี้ว่าการที่ธุรกิจจะค้นพบผู้ที่มีความสามารถนั้นยากเย็นและใช้เวลามากเพียงใด จึงเป็นเหตุให้การหาคำตอบว่าผู้สมัครต้องการอะไรจากงานตั้งแต่แรกถือเป็นก้าวแรกในการรักษาคนเก่ง ๆ ไว้ 

การมีชีวิตนอกเวลางานส่งผลดีต่องาน

ปัจจุบันเราสามารถเช็คอีเมลก่อนเข้านอนด้วยโทรศัพท์ ทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการตอบอีมลหรือเบิกค่าใช้จ่ายในวันหยุด และรับสายขณะเดินทาง ทุกอย่างทำได้อย่างง่ายดาย และบ่อยครั้งที่วัฒนธรรมโหมทำงานทำให้เรารู้สึกว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่พนักงานควรทำเพื่อให้ก้าวหน้าในการทำงาน ไม่เช่นนั้นอาจถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจหรือไม่ทุ่มเทพอ แต่ที่จริงแล้วแนวคิดนี้ส่งผลเสียและลดประสิทธิภาพการทำงาน ( English )สำหรับทั้งพนักงานและผู้บังคับบัญชา จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเกิดการต่อต้านและเสียงเรียกร้องให้มีการจัดการ 

แน่นอนว่าพนักงานต้องการค่าตอบแทนจากงานที่ทำไป แต่เนื่องจากเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตเราใช้กับการทำงาน เงินจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดของการทำงานสำหรับหลาย ๆ คนอีกต่อไป การศึกษาล่าสุดที่ WeWork ร่วมมือกับ Future of Work Initiative ของ Aspen Institute จัดทำขึ้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พนักงานให้คุณค่ามากที่สุดสำหรับที่ทำงานก็คือความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน สี่สิบเปอร์เซ็นต์จากพนักงานทั่วโลก 30,000 คนที่ตอบแบบสำรวจของ Future of Work and Cities บอกว่าความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในงาน ซึ่งเยอะกว่าคนที่ให้ความสำคัญกับค่าจ้าง (33 เปอร์เซ็นต์) และสวัสดิการ (28 เปอร์เซ็นต์) ปัจจัยเหล่านี้ได้รับการพูดถึงมากกว่าโอกาสในการก้าวหน้า อนาคตของธุรกิจ และคุณภาพของผู้นำเสียอีก 

แม้คำว่าสมดุลชีวิตกับการทำงานอาจดูเหมือนวลีฮิตที่ความหมายไม่ชัดเจนนัก แต่พูดง่าย ๆ ก็คือ การมีเวลาและพื้นที่ทางอารมณ์ที่จะแยกงานออกจากชีวิตส่วนตัว เพื่อเราจะได้มีจุดกึ่งกลางระหว่างเวลาที่ต้องทำงานกับเวลาส่วนตัวในระดับที่เราพอใจ สำหรับบางคนอาจหมายถึงการได้กลับถึงบ้านทันเวลารับประทานมื้อค่ำกับครอบครัว และสำหรับบางคนอาจเป็นการได้ดูหนังจนจบโดยไม่ถูกเจ้านายโทรมาถามคำถามเกี่ยวกับกำหนดส่งงานครั้งหน้า 

Arianna Huffington เชื่อว่าวัฒนธรรมของเรามองข้ามและไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาความสมดุลระหว่างเวลาส่วนตัวกับเวลางานมากเหลือเกิน เธอจึงตัดสินใจเปิดบริษัทที่มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอข้อดีของสิ่งนี้โดยเฉพาะ Thrive Global ซึ่งเป็นบริษัทสื่อซึ่งใช้บริการ headquarters by WeWork มุ่งมั่นที่จะหยุดการแพร่ระบาดของวัฒนธรรมโหมทำงานนี้ ผู้บริหารบริษัทสื่อแห่งนี้ก่อตั้งธุรกิจในปี 2007 หลังจากที่เธอหมดสติอันเป็นผลมาจากการอดนอนและความเหนื่อยล้าหลังจากทำงานมากเกินไป ตอนนี้ Arianna หันมาสนับสนุนให้คนเรารักษาขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน และทำในสิ่งที่เธอพร่ำบอกคนอื่นเพื่อเป็นแบบอย่าง เธอตั้งใจที่จะไม่รับสายในตอนเช้าเพื่อเอาเวลาไปนั่งสมาธิและออกกำลังกาย เธอจะทำงานที่ต้องใช้สมาธิให้เสร็จที่บ้านก่อนที่จะเข้าที่ทำงานเพื่อร่วมประชุม 

“ฉันเชื่อในข้อดีของการจัดลำดับความสำคัญอย่างเด็ดขาดและจัดวันของคุณเพื่อให้มีเวลาทำสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ แล้วพอแค่นั้น และทำใจได้กับการปล่อยอย่างอื่นที่ไม่จำเป็นค้างไว้” Arianna บอก ( English ) 

ไม่พบฟิลด์ใดๆ

ใช้วันลา

เมื่อธุรกิจเริ่มตระหนักถึงอันตรายของภาวะหมดไฟในการทำงาน บริษัทต่าง ๆ ก็หันมาใช้นโยบาย ( English )เพื่อช่วยพนักงานป้องกันภาวะนี้ หนึ่งในวิธีเริ่มต้นที่ดีก็คือการให้วันลาแบบจ่ายค่าแรงเพื่อให้พนักงานได้หยุดพักผ่อน ไม่คาดหวังให้พนักงานตอบอีเมลนอกเวลางาน และถ้าคุณเป็นผู้จัดการ ก็ทำตัวเป็นตัวอย่างให้เห็น

อีกวิธีที่บริษัทจะช่วยดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานก็คือในเรื่องของการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนซึ่งเป็นเวลาน่าเบื่อหน่ายที่สุดของวัน เพราะนี่เป็นการเสียเวลาอย่างใหญ่หลวงและเป็นเหตุผลที่พนักงานจำนวนมากย้ายไปอยู่ใกล้ที่ทำงานมากขึ้น ( English )

การปรับนโยบายที่เอื้อให้พนักงานทำงานจากระยะไกลจะส่งผลให้คนที่จำเป็นต้องเดินทางจริง ๆ ใช้เวลาในการเดินทางน้อยลง วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานสามารถจัดตารางเวลาของตัวเองให้เหมาะกับการใช้ชีวิตได้ คนที่ชอบอยู่ดึกอาจเริ่มทำงานตอนสาย ๆ คนมีลูกอาจจัดเวลาให้ไปรับลูกกลับจากโรงเรียนทัน และทั้งสองก็จะเลี่ยงการจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนได้ ข้อดีที่แถมมาอีกอย่างก็คือ การมอบความยืดหยุ่นนี้เป็นการสื่อว่าผู้บริหารเชื่อใจพนักงานและเห็นคุณค่าในงานที่พวกเขาทำ ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือผ่านการประชุมทางวิดีโอก็ตาม 

อีกวิธีในการส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวกับการทำงานด้วยการลดเวลาเดินทางก็คือ การสร้างพื้นที่สำนักงานในทำเลที่เข้าถึงได้สะดวก Microsoft นำวิธีนี้มาใช้ด้วยการให้ทีมขายในนิวยอร์กเข้าใช้ WeWork ได้ทุกสาขา ( English )ในเมือง พนักงานจะทำงานจากสาขาใดก็ได้ที่ใกล้บ้านที่สุด ช่วยให้พวกเขาเอาเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางไปทำอย่างอื่นในชีวิตได้

ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของทีม

พนักงานไม่ได้ต้องการแค่เส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างเวลางานกับเวลาส่วนตัวเท่านั้น ในช่วงเวลางาน (ไม่ว่าจะเป็นงานอะไรหรือทำที่ไหนก็ตาม) พนักงานอยากทำงานร่วมกับผู้อื่นและเป็นส่วนหนึ่งของบางอย่างที่ใหญ่กว่าตัวเอง เพราะอย่างไรเสีย ที่ทำงานก็คือที่ที่เราใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิต

จากการศึกษา Future of Cities and Work ผู้ตอบแบบสำรวจยี่สิบแปดเปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองให้ความสำคัญกับ “ความเป็นกลุ่มเป็นก้อน” ซึ่งถือเป็นสิ่งที่พนักงานอยากได้เป็นอันดับที่สามเสมอกับ “สวัสดิการ” ความต้องการนี้พบในคนทำงานรุ่นใหญ่มากกว่า โดย 30 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่อายุเกิน 45 ปีบอกว่าความรู้สึกเป็นชุมชนถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ ส่วนพนักงานอายุน้อยกว่า 45 ปีคิดแบบนี้ 26 เปอร์เซ็นต์ 

ความรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือพันธกิจที่ยิ่งใหญ่จะทำให้งานที่ทำมีความหมายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอีเมลที่ส่งไป งานเอกสารที่ต้องกรอก หรืองานธุรการอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของวันทำงาน การได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่สนับสนุนช่วยเหลือกันช่วยเพิ่มแนวโน้มที่พนักงานจะอยู่และเติบโตไปกับบริษัท โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกันนัก การทำงานร่วมกันจะช่วยให้ทั้งทีมสามารถมองเห็นจุดบอด ( English )ที่แต่ละคนอาจมองไม่เห็นมาก่อน 

การสำรวจ ( English )ชิ้นหนึ่งที่ WeWork ร่วมมือกับบริษัทวิจัยตลาด Ipsos ระบุว่าเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่พอใจกับการทำงานบอกว่าตนทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนในบรรดาพนักงานที่ไม่พึงพอใจ น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์บอกว่าตนเองไม่ได้มีการทำงานร่วมกันถึงระดับนี้ นอกจากการรักษาพนักงานแล้ว การทำงานร่วมกันยังมีผลกับผลกำไรในด้านอื่น ๆ อีกด้วย งานวิจัยของ MIT พบว่าบริษัทที่ได้คะแนนอยู่ในควอร์ไทล์สูงสุดด้านประสบการณ์ของพนักงาน ซึ่งหมายถึงบริษัทที่เปิดโอกาสให้พนักงานทำงานร่วมกันและนำไอเดียมาปฏิบัติจริง มีผลกำไรสูงกว่าบริษัทที่อยู่ในควอร์ไทล๋ต่ำสุดถึง 25 เปอร์เซ็นต์ 

การสร้างชุมชนภายในที่ทำงาน

ในขณะที่พนักงานยังคงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันต่อไปเรื่อย ๆ พื้นที่ทำงานหลาย ๆ แห่งก็เริ่มปรับตัวตามเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ (จะเห็นได้จากการที่พื้นที่ทำงานร่วมกัน ( English )ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ) 

“ความมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างผลงานที่ดีที่สุด” Molly O’Rourke หัวหน้าทีมวิจัยและการออกแบบที่ IBM กล่าว ตอนที่สำนักงาน CIO ของ IBM มองหาพื้นที่ทำงานใหม่ บริษัทต้องการพื้นที่ที่รองรับกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายและให้ความรู้สึกเหมือนเป็นชุมชน สำนักงาน CIO ได้เริ่มต้นโครงการริเริ่มที่ชื่อว่า Our Space ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในชั้นได้เสนอความคิดเห็นว่าต้องการใช้พื้นที่อย่างไร 

บรรยากาศในสำนักงานเกิดจากผู้คนที่อยู่ในนั้นก็จริง แต่รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมก็มีส่วนช่วยได้ บันไดในสำนักงาน ( English )และโถงทางเดินจะทำผู้คนได้มาเจอกันโดยไม่ตั้งใจในระหว่างวัน ห้องครัวเปิดโล่งขนาดใหญ่และพื้นที่ส่วนกลางมีส่วนช่วยให้พนักงานได้พบหน้ากันทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ห้องสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่ได้มีแค่กระดานไวท์บอร์ด แต่ยังมีงานศิลปะ ต้นไม้ และที่นั่งหลากหลายรูปแบบก็ช่วยสร้างบรรยากาศสบาย ๆ ใหักับห้องประชุมและช่วยให้สมองแล่นอีกด้วย 

“เมื่อผมมองดูสถานที่ทำงานร่วมกันที่เปี่ยมไปด้วยความหมายและทรงอิทธิพล ผมคิดว่าสถานที่เหล่านั้นจะต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างเครื่องมือ วัฒนธรรม และพื้นที่อย่างลึกซึ้งแน่ ๆ” Deano Roberts รองประธานด้านที่ทำงานนานาชาติและอสังหาริมทรัพย์ของ Slack ( English ) กล่าว 

การหาว่าสิ่งใดที่ทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้น พึงพอใจ และมีความสุขเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ยากที่สุดสำหรับธุรกิจ หรืออาจจะยากที่สุดเลยก็ว่าได้ สามสิบแปดเปอร์เซ็นต์ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจที่ตอบแบบสำรวจในการศึกษา The Future of Cities and Work บอกว่าพวกเขามีปัญหาในการดึงดูดและรักษาคนมีความสามารถ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแต่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จ เมื่อพนักงานมีส่วนร่วม มีความสุข และสบายใจ สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาในผลงาน พวกเขาจะมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นและมีแนวโน้มจะคิดไอเดียดี ๆ ได้ การศึกษาของ McKinsey พบว่าพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าพนักงานทั่วไปประมาณ 800 เปอร์เซ็นต์สำหรับงานที่มีความซับซ้อนสูง

O’Rourke กล่าวว่า “ฉันคิดว่าอนาคตของการทำงานกำลังย้อนกลับไปสู่สิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์และต้องไม่ลืมว่าเราไม่ใช่แค่ทรัพยากร ทุกคนต่างก็มีชีวิต และงานก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนั้น”

Anjie Zheng is the editor of Ideas by WeWork. Previously, she was a reporter for the Wall Street Journal. Her work has also appeared in Fast Company, Quartz, and LitHub.

สนใจเกี่ยวกับสถานที่ทำงานร่วมกันอยู่ใช่ไหม ติดต่อเราเลยสิ
Was this article useful?
thumbs-up thumbs-down